การพัฒนามีเดียวิกิ ของ มักนุส มันส์เคอ

ในฐานะนักเรียน มันส์เคอเป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดในโครงการนูพีเดีย[18] ด้วยการเขียนเนื้อหาเกี่ยวกับหัวข้อชีววิทยา[9] และการพัฒนาเครื่องมือรวมถึงส่วนขยายสำหรับนูพีเดีย[19] ต่อมา เขาไม่พอใจกับข้อจำกัดของซอฟต์แวร์ที่มีอยู่[18] มันส์เคอได้พัฒนาหนึ่งในรุ่นแรกของสิ่งที่ต่อมากลายเป็นมีเดียวิกิ[19][20] โดยซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ของเขาได้รับการติดตั้งในปี ค.ศ. 2002 [18]

ซอฟต์แวร์วิกิที่ใช้ในวิกิพีเดียแรกเริ่มเดิมทีเรียกว่ายูสมอดวิกิและได้รับการเขียนในภาษาเพิร์ล ซึ่งมีปัญหาของขนาดเริ่มต้นที่จะนำเสนอตัวเองเมื่อวิกิพีเดียเติบโตขึ้น ในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 2001 มันส์เคอเริ่มทำงานแทนยูสมอดวิกิซึ่งจะได้รับการสนับสนุนจากฐานข้อมูลและจะมี "คุณลักษณะเฉพาะของวิกิพีเดีย"[21] เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 2002 มันส์เคอได้เปิดตัวเอนจินวิกิภาษาพีเอชพีที่ใช้มายเอสคิวเอลเวอร์ชันแรก เรียกว่าเฟส II[22] หนึ่งในนวัตกรรมที่ดำเนินการโดยมันส์เคอในเฟส II คือการใช้เนมสเปซเพื่อแยกหน้าเว็บประเภทต่าง ๆ เช่นเนมสเปซ "พูดคุย" หรือ "ผู้ใช้" ซึ่งแตกต่างจากซอฟต์แวร์วิกิที่เก่ากว่าซึ่งไม่มีเนมสเปซที่แตกต่างกัน[21] เฟส II ยังนำเสนอคุณลักษณะอื่น ๆ อีกหลายอย่างที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งการอัปโหลดไฟล์, รายการเฝ้าดู, ลายเซ็นอัตโนมัติ และรายชื่อการมีส่วนร่วมของผู้ใช้[23][24] การเขียนใหม่ของมันส์เคอทำให้การรวบรวมรูปภาพในบทความวิกิพีเดียทำได้ง่ายขึ้น และสร้างกลุ่มผู้ใช้ใหม่: ผู้ดูแลระบบสามารถลบหน้าและบล็อกผู้ก่อกวน[18][25]

มันส์เคอเป็นผู้สนับสนุนโอเพนซอร์สและโดยเฉพาะใบสัญญาอนุญาตจีพีแอล และการทำงานของมีเดียวิกิเวอร์ชันก่อนหน้านี้ได้รับการเปิดตัวภายใต้สัญญาอนุญาตจีพีแอล[26]

ซอฟต์แวร์เฟส II ของมันส์เคอพบปัญหาเกี่ยวกับการโหลดเนื่องจากวิกิพีเดียยังคงเติบโตต่อไป ดังนั้น ลี แดเนียล คร็อกเกอร์ จึงเขียนใหม่ ซึ่งนำไปสู่เฟส III โดยได้ใช้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2002 และตั้งแต่ ค.ศ. 2003 เป็นต้นไป เรียกว่า "มีเดียวิกิ"[22] ปัจจุบันซอฟต์แวร์มีเดียวิกิได้รับการใช้เป็นแพลตฟอร์มหลักสำหรับทั้งวิกิพีเดียและโครงการวิกิมีเดียหลายโครงการ เช่นเดียวกับในหลายองค์กรและในหลายสถาบัน

มันส์เคอยังคงพัฒนาเครื่องมือและส่วนขยายสำหรับมีเดียวิกิ รวมทั้งเครื่องมือสำหรับการเป็นสมาชิกหมวดหมู่แผนที่, คำนวณทางแยกหมวดหมู่ และนำเข้าภาพจากฟลิคเกอร์ไปยังคอมมอนส์[27][28] มันส์เคอยังได้พัฒนาส่วนขยายไซต์ซึ่งนำวากยสัมพันธ์อย่างเอกซ์เอ็มแอลมาใช้กับการจัดการอ้างอิง[29]

ใกล้เคียง